โรคแผลในกระเพาะ
Blog Terrence Horton  

โรคแผลในกระเพาะอาหารรับมือได้ไม่ยากหากรู้ทัน

ปัจจุบันโรคแผลในกระเพาะอาหารเป็นโรคที่หลายคนต่างต้องเคยเผชิญกันมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองส่วนใหญ่นั้นเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดโรคนี้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความเร่งรีบในการใช้ชีวิต หรือพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่กว่าจะรู้ตัวก็มีอาการปวดท้องที่เกิดจากแผลที่อยู่ในกระเพาะอาหารเสียแล้ว ดังนั้นสำหรับใครที่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคนี้ เราไปดูกันดีกว่าว่ารายละเอียดของโรคและวิธีรับมือกับโรคนี้สามารถทำได้อย่างไรบ้าง

รู้จักกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร

Peptic Ulcer Disease คือ โรคที่เกิดจากแผลที่อยู่บริเวณผนังเยื่อบุของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น และหลอดอาหารส่วนปลายที่ติดกับหูรูดของกระเพาะอาหาร อาการของโรคที่แสดงออกมาหลัก ๆ คือ อาการปวดหรือแสบท้องบริเวณเนื้อเยื่อที่มีแผลเกิดขึ้น หรืออาการแสบร้อนกลางอกบริเวณใต้ลิ้นปี่ ในผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจมีอาการถึงขั้นอาเจียนหรืออุจจาระเป็นเลือดเลยก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเบื้องต้นผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ มักรับประทานยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวลง แต่อย่างไรก็ตามหากมีอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ช่วยรักษาให้ทันที เพราะหากปล่อยไว้อาการอาจรุนแรงหรืออาจเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นได้

โรคแผลในกระเพาะอาหารเกิดขึ้นได้จากสาเหตุใดบ้าง

             แผลที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นบริเวณกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร หรือลำไส้เล็กนั้น เกิดจากความไม่สมดุลกันระหว่างน้ำเมือก (Mucous) ที่เคลือบอยู่บริเวณผนังเยื่อบุต่าง ๆ กับกรดแก่ไฮโดรคลอริกที่ถูกสร้างขึ้นในกระเพาะอาหาร ซึ่งความไม่สมดุลนี้มีสาเหตุมาจากหลากหลายประการ ดังต่อไปนี้

1. การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือการรับประทานอาหารที่ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เช่น อาหารหมักดอง อาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม ชา กาแฟ เป็นต้น

             2. ความเครียดสะสม จะส่งผลให้ระบบประสาททำงานผิดพลาด ทำให้บางครั้งอาจส่งผลให้สมองสั่งให้สร้างน้ำกรดในกระเพาะอาหารมากเกินความจำเป็น

             3. เชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “เฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (Helicobactor Pylori)” ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่บริเวณเยื่อบุผนังของกระเพาะอาหาร ที่มีผลอย่างยิ่งต่อการก่อให้เกิดการระคายเคืองและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารได้ในที่สุด และนอกจากนี้ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้บางคนที่เป็นโรคนี้ไม่หายขาด คือมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นโรคนี้ซ้ำได้อีกที่เรียกว่าอาการเรื้อรัง

             4. การรับประทานยารักษาโรคบางชนิดเป็นระยะเวลานาน ยกตัวอย่างเช่น การใช้ยาแก้ปวดประเภทแอสไพริน หรือการใช้ยาจำพวกนาโปรเซน ไอบูโปรเฟน ยากลุ่มเอ็นเสดที่ใช้สำหรับรักษาอาการปวดหรือการอักเสบของผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น ไซตาโลแพรม ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคกระดูกพรุน จำพวก ไรซีโรเนต หรือแม้แต่ยาที่ใช้สำหรับต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างพวกวอร์ฟาริน หรือเฮพาริน เป็นต้น

             5. ปัจจัยหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตอื่น ๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และบุคคลต่อไปนี้ที่พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าคนอื่น ๆ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ผู้ที่มีประวัติแคลเซียมในเลือดสูง หรือมีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคประเภทนี้มาก่อน เป็นต้น

แผลในกระเพาะอาหารรักษาให้หายได้ถ้ารู้จักวิธีการดูแลตัวเอง

อย่างไรก็ดีโรคแผลในกระเพาะอาหารนี้สามารถรักษาให้หายได้ไม่ยาก หากดูแลร่างกายตัวเองให้ดีมากเพียงพอ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ไม่ให้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่รับประทานอาหารที่มีรสจัดจ้านมากเกินไป และไม่รับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินควรต่อหนึ่งมื้อ และที่สำคัญควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดมากที่สุด เพื่อเป็นการช่วยระบบย่อยของร่างกายให้สามารถทำงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง ชา กาแฟ น้ำอัดลม ส่วนอาหารที่ควรรับประทานเสริมแนะนำให้เป็นพวกโยเกิร์ต เพราะมีแบคทีเรียที่มีส่วนช่วยในการลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้ดังกล่าวไปแล้ว นอกจากนี้ควรพยายามไม่ให้ร่างกายมีความเครียดสะสมมากเกินไป โดยอาจหากิจกรรมใหม่ ๆ หรือวิธีที่จะช่วยผ่อนคลายตัวเองให้มีความเครียดลดน้อยลงทำดูบ้าง

ชอปปิงกับ Shopee ในแคมเปญใน  9.9 แคมเปญใหญ่เอาใจนักชอปแบบจัดหนักจัดเต็ม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://shopee.co.th/m/99